Skip to content
PU Foam

หลังคาฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU FOAM)

ฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU Foam) ประเทศไทย เป็น 1 ในประเทศที่มีอุณหภูมิสูงอันดับต้นๆในเอเชีย โดยอุณภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นทุกปี ทำให้ความต้องการ ทำให้สิ่งก่อสร้าง ที่อยู่อาศัยของตนเองเย็นสบายนั้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากที่อยู่อาศัยถือเป็น 1 ในปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ดังนั้นฉนวนกันความร้อนจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่ใครหลายๆคนกำลังมองหา ดังนั้นเราจึงขอแนะนำฉนวนกันความร้อนที่ป้องกันความร้อนได้ดีที่สุดในปัจจุบันคือฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU FOAM) และนอกจากจะกันความร้อนแล้วยังสามารถช่วยลดเสียงที่เกิดจากฝนตกได้ดีอีกด้วย
ฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU Foam) คือการฉีดฉนวนหรือโฟมกันความร้อนลงบนแผ่นเมทัลชีทหรือวัสดุ โดยสารที่ใช้ฉีดมีชื่อว่า โพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane Foam) ที่มีลักษณะเป็นเป็นพลาสติกเหลวชนิดเทอร์โมเซ็ตติ้ง (Thermosetting) ฉนวนกันความร้อนพียูโฟมจะไม่ดูดซับความชื้น และสามารถป้องกันน้ำและป้องกันความชื้นได้ อีกทั้งยังลดการแผ่รังสีและการนำความร้อนได้มากกว่า 95 % โดยส่วนมากเป็นความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อนของแสงอาทิตย์ผ่านฝ้าเพดานลงสู่ภายในห้องหรือตัวอาคาร นั้นคือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความร้อนดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุคือการป้องกันไม่ให้ความร้อนกระจายเข้าภายในอาคารที่อยู่อาศัยหรือช่วยให้ความร้อนส่งผ่านเข้ามาภายในอาคารน้อยที่สุด จึงเป็นเหตุผลที่ใครหลายๆคนหันมาใช้ฉนวนกันความร้อนพียูโฟมมากขึ้นในปัจจุบัน
PU Foam

รูปแบบหลังคาเมทัลชีทติดฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU-FOAM)

PU Foam

1. พียูโฟม (PU Foam) + อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil Sheet) สีเงินคือ วัสดุ Aluminum Foil 7 microns เป็นวัสดุปิดทับ พียูโฟมกับเมทัลชีทจะทำให้เกิดความทนทานเนื่องจากเสริมด้วยเส้นใย Fiberglass ที่มีคุณสมบัติเหนียวและยืดหยุ่นได้ดีไม่ขาดง่าย และยังสะท้อนแสงช่วยเพิ่มความสว่างภายในอาคาร และช่วยให้ประหยัดได้ดีอีกด้วย

PU Foam

2. พียูโฟม (PU Foam) + พีวีซี (PVC Sheet) สีดำคือ วัสดุปิดทับ พียูโฟมกับเมทัลชีท ความหนา 0.08 มม. ขึ้นลายเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งของแผ่น PVC มีลักษณะคล้าย Wall Paper นิยมใช้งานภายในตัวอาคารที่แสงหรือรังสี UV ที่มาจากแดด เข้าไม่ถึงเนื่องจากรังสี UV จะทำให้ PVC Sheet กรอบ แตกง่าย และเป็นสีเหลือง

PU Foam

3. พียูโฟม (PU Foam) + พีวีซี (PVC Sheet) สีขาวคือ วัสดุปิดทับ พียูโฟมกับเมทัลชีท ความหนา 0.08 มม. มีการขึ้นลายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของแผ่น PVC ลักษณะคล้าย Wall Paper นิยมใช้งานภายในอาคารที่แสงหรือรังสี UV ที่มาจากแดด เข้าไม่ถึงเนื่องจากรังสี UV จะทำให้ PVC Sheet กรอบ แตกง่าย และเป็นสีเหลือง

PU Foam

4. พียูโฟม (PU Foam) + แผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet) หรือ แผ่นพียูโฟมแซนวิชที่มีความหนา 1 – 2 นิ้ว นิยมใช้ภายในอาคารที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือ บริเวณที่มีความเสี่ยงในการเกิดประกายไฟ เพราะเนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ลามไฟ อายุการใช้งานยาวนาน คงทน ไม่หลุดล่อน และยังช่วยประหยัดพลังงานได้ดีอีกด้วย

จุดเด่นของฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU FOAM)

1. เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวอาคารได้ดี​​
2. ลดการแผ่รังสี และนำความร้อนได้มากกว่า 95 %
3. สามารถดูดซับเสียงภายในอาคาร และป้องเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี เช่น เสียงฝนตก​​
4. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้าเนื่องจากลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
5. ช่วยป้องกันการกัดกร่อน มีความทนทานต่อกรด และด่าง เหมาะสำหรับ อาคารโรงงาน อุตสาหกรรม โรงงานผลิตต่างๆ​​
6. ช่วยป้องกันการเกิดสนิม หรือการสึกกร่อน การแตกร้าวของหลังคา
7. ป้องกันการรั่วซึมของน้ำ ความชื้น และอากาศ​​ได้ดี
8. ไม่ลามไฟ เนื่องจากฉนวนกันความร้อนพียูโฟม ผสมสารกันลามไฟ
9. วิธีการประกอบและการติดตั้งทำได้ไม่ยาก และง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไข รื้อถอน หรือนำมาติดตั้งใหม่ก็ สามารถทำได้ไม่ยาก
10. มีความเเข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา และยังมีอายุการใช้งานยาวนาน มากกว่า 30 ปี

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน

PU Foam Description

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: Content is protected !!